อาณาจักรขอมโบราณ

อาณาจักรขอมโบราณ
ก่อนยุคอาณาจักรขอมโบราณ (ราวพุทธศักราชที่ 10 – 19) ซึ่งกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น เคยเป็นดินแดนที่อาณาจักรฟูนัน (ราวพุทธศักราชที่ 5/6–10) มาก่อน ทฤษฎีทางประวัติศาสตร์โบราณส่วนใหญ่เห็นว่าอาณาจักรขอมโบราณเกิดขึ้นสืบเนื่องจากอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละอาณาจักรขอมมีความสัมพันธ์กับทั้งสองอาณาจักรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ อาณาจักรเจนละ
อาณาจักรฟูนันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอู่ทองและเมืองออกแก้ว (ไม่ทราบแน่ชัด) แต่มีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่า “วยาธประ” มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนขอมมาก่อนในภาคกลาง ภาคอิสานของไทยปัจจุบัน เช่น เมืองอู่ทอง (อ. อู่ทอง สุพรรณบุรี) มีการปกครองแบบเทวราช วัฒนธรรมแบบพราหมณ์-ฮินดู หลักฐานที่ขุดพบ ได้แก่ เทวรูป เครื่องประดับและเหรียญตรา ฟูนันเจริญรุ่งเรืองช่วงพุทธศตวรรษ 6-10 มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและอินเดีย วัฒนธรรมประเพณีของฟูนันคล้ายคลึงอินเดียมาก อิทธิพลของอินเดียเริ่มเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิี้ราวพุทธศักราชที่ 6 – 7 โดยทางทะเล โดยขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งพื้นที่อินโดจีน อิทธิพลของอินเดียที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ ศิลปกรรมสาขาต่างๆ เช่น ปฏิมากรรม สถาปัตยกรรมและสาขาอื่นๆ ซึ่งอิทธิพลของอินเดียอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิมาจนถึงปัจจุบัน
ตามตำนานขอมโบราณ พราหมณ์เชื้อสายอินเดียชื่อ “โกณฑัญญะ” ซึ่งได้้มาแต่งงานกับนางพญาขอม ได้จัดการปกครองอาณาจักรขอมให้เจริญรุ่งเรือง อาณาจักรอืนๆใกล้เคียง ได้แก่ อาณาจักรโครตบูรณ์ (ราวพุทธศักราชที่ 11 – 15) ซึ่งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคเหนือของไทยและภาคกลางของลาว) ศูนย์กลางอยู่ที่นครพนม (เชื่อว่าเมืองหลวงอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือท่าแขกของลาว) นับถือศาสนาพุทธเถรวาท มีการสร้างเจดีย์สำคัญ คือ พระธาตุพนม อาณาจักโคตรบูรณ์มีดินแดนที่กินพื้นที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย เวียงจันทร์ นครพนม (เจดีย์พระธาตุพนม) อุบลราชธานี และอาณาจักรทวาราวดี (ราวพุทธศักราชที่ 11 – 16) ที่มีอำนาจในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอืนๆในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น อาณาจักรศรีเกษตร (พยู) อาณาจักรน่านเจ้า (หนองแส : ราวพุทธศักราชที่ 6/8 – 17) ของเผ่าคนไทย อาณาจักรศรีวิชัย (ราวพุทธศักราชที่ 11 – 18) อาณาจักรเชียงแสน (โยนกและเงินยาง : ราวพุทธศักราชที่ 9/ 11 – 18) ของคนไทยอีกสายหนึ่ง ต่อมาอาณาจักรขอมขอมสามารถตีอาณาจักรโครตบูรณ์และอาณาจักรทวาราวดีทวาราวดีได้
อาณาจักรขอมโบราณแบ่งออกเป็น 4 ยุคได้แก่
1. อาณาจักรขอมโบราณยุคแรก (ราวพุทธศตวรรษที่ ุ6/7 – 11) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปราสาทภู แขวงเมืองจัมปาศักดิ์ ประเทศลาว (จากหลักฐานการขุดค้นอาจเป็นอุบลราชธานี) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอินทรปุระ (กัมปงจาม) ดินแดนกินพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำโขง กัมพูชา ภาตตะวันออกเฉียงเหนือของไทย (สืบต่อจากอาณาจักรฟูนัน) บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกของไทยปัจจุบัน รวมทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา อาณาจักรขอมโบราณรัับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ปกครองแบบเทวราช ระบบจตุสดมภ์ นับถือศาสนาพราหมณ์ มีการสร้างเทวรูปและประสาทหิน ที่สำคัญคือนครวัด – นครธม ซึ่งนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งประสาทอื่นๆในภาตตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจำนวนมาก
2. ยุคสมัยก่อนพระนครหรืออาณาจักรเจนละ (ราวพุทธศตวรรษที่ 11-13) กษัตริย์ยุคนี้คือ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (แยกจากอาณาจักรฟูนัน)
3. ยุคเมืองพระนคร (ราวพ.ศ. 1345-1976) มีกษัตริย์ปกครอง 15 รัชกาล ได้แก่
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ราวพ.ศ. 1345) ประกาศอิสรภาพจากชวา รวมเจนละบกและเจนละน้ำ ลัทธิพราหมณ์ (ศิวะลึงค์)
พระเจ้ายโสวรมันที่ 1 (ราวพ.ศ. 1432)
พระเจ้าชัวรมันที่ 4 (ราวพ.ศ. 1471)
พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 (ราวพ.ศ. 1478) ฮินดู (มีขันติธรรมต่อพุทธศาสนา)
พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (ราวพ.ศ. 1544) ฮินดู
พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 (ราวพ.ศ. 1471)
พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (ราวพ.ศ. 1478)
พระเจ้าชัวรมันที่ 6 (ราวพ.ศ. 1623)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (ราวพ.ศ. 1656) ชนะชนชาติมอญ ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรขอมที่ละโว้ ยุคนี้อาราจักรกว้างขวางมากมาย นับถือศาสนาฮินดู
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 (ราวพ.ศ. 1693) เริ่มนับถือศาสนาพุทธมหายาน
บรรดาแม่ทัพนายกองจามครอบครอง (พ.ศ. 1720-1721)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ราวพ.ศ. 1724-1763) กษัตริย์ขอมที่เก่ง เลื่อมใสพุทธศาสนาลัทธิมหาญาณมาก ต้องการประสานกับฮินดู สร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานในอาณาจักรโบราณที่กว้างขวางที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคม เครือข่ายเทวาลัย เครือข่ายอโรคยาศาลา รวมทั้ง หัวเมืองและเมืองต่างๆ ที่ยังปรากฎร่องรอยในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ในถาคอิสาณ ภาคกลางของไทยปัจจุบัน
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 (ราวพ.ศ. 1763)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 (ราวพ.ศ. 1768)
พระเจ้าศรีอินทรชัยวรมัน (ราวพ.ศ. 1826)
พระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร (ราวพ.ศ. 1870)
ต่อมาอาณาจักรขอมโบราณ ซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนสุวรรณภูมิได้ล่มสลายลง เนื่องถูกกองทัพประเทศสยาม (กรุงศรีอยุธยา) นำโดยฝีมือพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา: พ.ศ. 1967 – 1991) พระมหากษัตริย์องค์ที่สำคัญที่สุดพระองค์หนึ่ง ซึ่งคนไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ลืมเลือนไปแล้วในปี 1974 โดยได้เข้ายึดเมืองพระนครได้ ทำให้พระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ไทยยิ่งใหญ่ ที่ทรงมีพระบรมราชานุภาพสูงมากที่สุดพระองค์หนึ่งของประเทศไทย
4. ยุคหลังเมืองพระนคร (ราวพ.ศ. 2093 – ปัจจุบัน)
มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ปัจจุบัน ได้แก่ เมืองศรีเทพ (เพรชบูรณ์) เมืองศรัวัตตะปุระ อำเภอศรีมหาโพธิ์ (ปราจีนบุรี) อำเภอระโนด (สงขลา)

images (6)

images (7)

images (8)

images (9)

images (10)

ใส่ความเห็น